ถาม-ตอบ

หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในหลายๆ หัวข้อ

ปลั๊ก

ปลั๊กไฟที่ใช้อยู่ปลอดภัยกับชีวิตหรือไม่ ???

วิธีการสังเกตดูปลั๊กพวง (แบบสังเขป)

1.สังเกตเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
ต้องระบุมอก.2432-2555

2.สังเกตที่ตัวเต้ารับ
เต้ารับจะต้องมีม่านนิรภัยและมีขั้วสายดิน
เพื่อป้องกันการสัมผัสโดน

3.สังเกตตัวปลั๊ก 3 ขา
จะต้องมีฉนวนยางหุ้ม 2 ขา และ สายดิน 1 ขา

เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้า และ เต้ารับกับตัวปลั๊กต้องเสียบได้พอดี ไม่แน่นหรือหลวม

4.สังเกตตัวปลั๊กต้องมีอุปกรณ์กันกระแสไฟเกิน
(สำหรับปลั๊กพวงที่มี 3 เต้ารับขึ้นไป)

 

รายละเอียดข้อมูลชุดปลั๊กพวงเพิ่มเติม (คลิก)

หลอดไฟ

หลอดไส้ (Incandescent Lamp) เป็นหลอดไฟที่มีการใช้งานมานานมาก มีอีกชื่อที่เรียก คือหลอดดวงเทียน เพราะมีแสงแดง ๆ คล้ายแสงเทียน หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับหลอดชนิดนี้กันเป็นอย่างดี มีทั้งชนิดแบบแก้ว และฝ้า ไส้หลอดทำมาจากทังสเตนให้ความร้อนสูง หลักการทำงาน คือ กระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน เมื่อไส้หลอดร้อนจะเปล่งแสงออกมา หลอดไส้นั้นมีข้อเสีย คือ เมื่อมีความร้อนสะสมมาก ๆ อายุการใช้งานจะยิ่งสั้นลง โดยกินไฟมาก เนื่องจากสูญเสียไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น


หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube) Fluorescent หรือหลอดเรืองแสง ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7-8 เท่าตัว โดยตัวหลอดมีไส้โลหะทังสเตนติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ของหลอด ผิวภายในฉาบด้วยสารเรืองแสง โดยมีการใส่ไอปรอทไว้เล็กน้อย หลักการทำงาน คือ เมื่อกระแสไฟฟ้าใหลผ่านปรอท จะคายพลังงานในรูปแบบรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อกระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ หลอดก็จะเปล่งแสงออกมา อายุการใช้งานมีตั้งแต่ 6000 ถึง 20000 ชั่วโมง


หลอดฮาโลเจน (Halogen) พัฒนามาจากหลอดไส้ ที่ใช้ก๊าซฮาโลเจนบรรจุภายใน ทำให้ทนทานกว่าหลอดไส้ปกติ ให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มักใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่งานแสดงสินค้า มุมอับของบ้านห้องทำงาน อายุการใช้งาน 1500-3000 ชั่วโมง
หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide) เป็นหลอดที่จัดอยู่ในกลุ่มให้ความเข้มแสงสูง หลักการทำงาน คือ Arc ไฟฟ้าวิ่งผ่านก๊าซในโคมไฟ หลอด arc ที่มีขนาดเล็ก จะผสมกับแรงดันสูงของอาร์กอน ปรอท และความหลากหลายของโลหะผสมกัน ทำให้เกิดสีสันต่าง ๆ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของปรอท และไอโลหะที่ผลิตไฟนี้ จะทำให้ อุณหภูมิ และความดันเพิ่มขึ้น หลอดเมทัลฮาไลด์ จึงทำงานภายใต้ความดัน และอุณหภูมิสูง ส่วนใหญ่จะใช้ส่องสว่างในสนามกีฬา ใช้เป็นไฟสาดอาคาร เพื่อเน้นความสวยงาม โดยมีอายุการใช้งานถึง 24000 ชั่วโมง


หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท หลอดประเภทนี้ ทำงานด้วยการปล่อยประจุความเข้มข้นสูง หลักการทำงาน คือ ใช้ไฟฟ้าแรงสูงกระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ภายในหลอด เพื่อให้เกิดแสงสว่าง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชั่วโมง มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ ให้แสงสีขาวค่อนข้างเข้ม แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่น ๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับ โรงงาน โกดังสินค้า สนามกีฬา
หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ มีการทำงานคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตา คือ”หลอดตะเกียบ” ซึ่งมีแบบที่บัลลาสต์ในตัว และแบบอยู่ภายนอก มีรูปร่างที่หลากหลาย เช่น แบบเกลียว แบบหลอด แบบหลอดสี่แถวเป็นต้น โดยจะมีอายุการใช้งานที่มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์


หลอด LED โดยหลอดไฟ LED ถือว่าได้รับการพัฒนามาจากเทคโนโลยีในยุคใหม่ ๆ หลักการทำงานจะต่างจากหลอดทั่ว ๆ ไป โดยแสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำหลอด LED ลดจุดด้อยต่าง ๆ ของหลอดไฟที่ผ่านมา เช่น เรื่องความร้อน เนื่องจากไม่มีการเผาไส้หลอด มีอายุการใช้งานที่นาน 50000 ชั่วโมง ใช้ Watt น้อยแต่ให้แสงสว่างมากกว่า ถนอมสายตา เนื่องจาก มีการกระพริบของหลอดน้อยมาก ไม่มีสาร UV ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หน่วยของความสว่าง (Lumen) ก่อนที่จะไปเลือกความสว่างของหลอดไฟ LED แต่ละห้องเรามา ทำความรู้จักกับหน่วยวัดความสว่างกันก่อนดีกว่า

1.        ความสว่าง มีหน่วยเป็นลักซ์ (Lux) คือ ปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่มีหน่วยเป็น “ลูเมนต่อตารางเมตร” หรือลักซ์ การวัดค่าความสว่าง จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “ลักซ์มิเตอร์” เป็นเครื่องมือวัดค่าความสว่างของโคมไฟนั้น

2.        ปริมาณแสง มีหน่วยเป็นลูเมน (Lumen) คือ หน่วยการวัดปริมาณแสงซึ่งเป็นการวัดในรูปของเส้นแรงของแสง โดยการบอกค่าปริมาณแสงที่ออกมาจากหลอดไฟฟ้า มีหน่วยเป็นลูเมน พูดง่าย ๆ คือ หากหลอดไฟมีค่าลูเมนสูง ก็จะให้ความสว่างสูงนั่นเอง

3.        กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) คือ อัตราการกินไฟของหลอดไฟชนิดนั้น ๆ เช่น หลอดไฟ อุปกรณ์โคมไฟจำพวกบัลลาสต์ หรือทรานฟอร์เมอร์ วิธีดูอย่างง่าย คือ ถ้าจำนวนวัตต์ (watt) สูง แปลว่าหลอดไฟ LED หรือ โคมไฟ LED นั้นจะกินไฟมาก และค่าไฟก็จะมากขึ้นด้วย

4.        อุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) มีหน่วยเป็นเคลวิน (Kelvin) คือ อุณหภูมิแสงที่แสดงเป็นตัวเลขอยู่บนกล่อง ซึ่งแต่ละยี่ห้องนั้นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น อุณหภูมิแสง 2700K และ 3000K เรียกว่า สีวอร์มไวท์ สีของแสงจะออกไปโทนส้มเหลือง อุณหภูมิแสง 4000K เรียกว่า สีคูลไวท์ สีของแสงจะออกไปทางสีเหลืองขาว อุณหภูมิแสง 6500K เรียกว่า สีเดย์ไลท์ สีของแสงจะออกไปทางสีขาวอมฟ้า

ก่อนจะไปทำความรู้จักกับหลอดไฟ T5 และ T8 แบบลึกซึ้ง เราขอพามาดูข้อมูลเบื้องต้นอย่างตัวอักษรภาษาอังกฤษด้านหน้าตัวเลข ที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะสงสัยว่าแท้จริงแล้วมีความหมายว่าอะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร

จริง ๆ แล้วจะหลอดไฟ T ไหน ก็คือหลอดประเภทเดียวกัน และมีความต่างแค่ตัวเลขที่แสดงต่อท้าย เพราะตัว T หมายถึง Tubular หรือหลอดไฟที่มีลักษณะคล้ายทรงท่อ และตัวเลขที่ต่อท้ายก็หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางหุนนั่นเอง

หลอดไฟ LED T8 ได้รับการพัฒนาและผลิตขึ้นมาใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเก่าที่ใช้บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ในการขับแสง แต่สำหรับหลอดไฟ LED T8 นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งสองอย่าง เพราะสามารถต่อไฟเข้าได้โดยตรง

เพราะแต่เดิมหลอดฟลูออเรสเซนต์จะต้องใช้บลัลลาสต์ในการควบคุมพลังงานให้ไฟไปยังตัวหลอด เนื่องจากต้องใช้ไฟแรงสูงในการเริ่มใช้งาน ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดฟลูออเรสเซนต์กินไฟอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาหลอดไฟ T8 ขึ้นมาเพื่อช่วยปิดรอยรั่ว และทดแทนเรื่องการประหยัดไฟ ในส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอด T8 จะอยู่ที่ 8 หุน หรือ 1 นิ้ว ซึ่งเทียบได้กับขนาด 26 มิลลิเมตรนั่นเอง

หลอดไฟ LED T5 เป็นหลอดผอมที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของหลอดประหยัดพลังงาน ที่พัฒนาประสิทธิภาพมาจากเทคโนโลยีและการประหยัดพลังงานจากหลอด T8 โดดเด่นทั้งเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กกว่าหลอดผอมยาวชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน

สำหรับหลอด T5 จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 16 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับขนาดของหลอด T อื่น ๆ แล้ว ถือว่ามีขนาดเล็กที่สุด แต่กลับให้แสงสว่างได้เท่า ๆ กัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลอด T5 ได้รับความนิยมทั้งด้านความสวยงามในการใช้งาน และการประหยัดพลังงานที่ทำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยหลอดไฟ T5 จะนิยมใช้กับโคมไฟเส้นตรง ไฟแถบ ตลอดจนการใช้งานไฟบ้านทั่วไป

หลอดไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่ประเภท ???

นิยมใช้หลอดไฟ 5 ปรเภท

1.หลอดอินแคนหรือหลอดไส้ (Incandescent)

หลักการทำงาน คือ การปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจนให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสงออกมา เป็นหลอดที่มีอายุสั้น

2.หลอดทังสเตนฮาโลเจน (tungsten halogen lamp)

หลักการทำงาน คือ มีการทำงานคล้ายหลอดไส้ แต่แสงไฟจากหลอดประเภทนี้จะให้คุณภาพที่ดีกว่าและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไส้

3.หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent)

หลักการทำงาน คือ ใช้หลักการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นแสงสว่าง โดยใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า

4.หลอดแอลอีดี (LED)

หลักการทำงาน คือ เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นประมาณ 80%
เมื่อเทียบกับหลอดไฟแบบเก่า ลดการสูญเสียพลังงาน อายุการใช้งานยาวนาน มีขนาดเล็ก

5.หลอดชนิดปล่อยประจุความเข้มสูง (HID)

เป็นหลอดไฟชนิดประจุความเข้มสูง มักใช้กับภายนอกอาคาร

ความสว่างของหลอดไฟ คือ ค่า "วัตต์" จริงหรือ???

 

ความสว่างของหลอดไฟขึ้นอยู่กับ "ค่าลูเมน"

ลูเมน (Lumen) ตัวย่อ lm
คือ หน่วยที่ใช้วัดกำลังของความสว่าง (Luminous power)
เรียกง่ายๆก็คือ ลูเมนมากก็สว่างมากนั้นเอง


ลักซ์ (Lux) ตัวย่อ lx
คือหน่วยที่ใช้วัดความสว่างต่อพื้นที่ (Illuminance) คือ ค่าลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในแต่ละสถานที่จะมีค่าลักซ์ที่แตกต่างกัน เนื่องจากสถานที่มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น
โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร ห้องตรวจรักษา 30 ลักซ์
ห้องพักฟื้นสาหรับการปฐมพยาบาล ห้องพักผ่อน 50 ลักซ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของค่าลักซ์ที่เหมาะสม (คลิก)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้